วัดหน้าพระเมรุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รัชกาลที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2046 ประทานนามว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” แต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกกันว่า “วัดหน้าพระเมรุ”
Temple
วัดต่างๆ ศาสนสถานของศาสนาพุทธ
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อวัดบ้านแหลม หนึ่งในพระพุทธรูป ๓ องค์ ที่แสดงปาฏิหาริย์ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาจากทางเหนือตั้งแต่สมัยอยุธยา พระพุทธรูปที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองชาวแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่องลือในเรื่องของปาฏิหาริย์ที่ช่วยให้หายจากโรค และช่วยคุ้มครองให้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุ
“ประเพณีรับบัว” เป็นหนึ่งในประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ สิ่งดีงามที่หล่อรวมความเป็นหนึ่งระหว่างชาวไทย ลาว และมอญพระประแดงเข้าด้วยกันตามประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน ประเพณีรับบัวมีต้นกำเนิดจากความมีน้ำใจของคนในท้องถิ่นและชาวมอญพระประแดง ที่ในช่วงออกพรรษาต้องการเดินทางไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง จึงเก็บดอกบัวบริเวณอำเภอบางพลีเพื่อบูชาถวายพระสงฆ์และเก็บฝากเพื่อน
วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ติดกับวัดมหาธาตุทางบริเวณทิศตะวันออก ห่างจากพระราชวังโบราณ เพียงเล็กน้อย จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในพระนครศรีอยุธยา สร้างโดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. 1967
วัดมเหยงคณ์ ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านทิศตะวันออก วัดนี้มีกล่าวถึงอยู่ในพงศาวดารหลายฉบับ และมีความเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์อยุธยาหลายรัชกาล เช่น พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ และพระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1981 และสันนิษฐานว่าสร้างพระราชทานแก่พระมเหสีพระองค์หนึ่งซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย
ประวัติการสร้างวัดไชยวัฒนารามมีในพระราชพงศาวดารกล่าวไว้ตรงกันว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสถาปนาวัดนี้ใน พ.ศ. 2173 โดยสร้างขึ้นบริเวณที่เป็นนิวาสสถานของพระราชชนนี มีเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อยุธยาที่เกี่ยวข้องกับการสถาปนาวัดนี้ช่วงที่มีการผลัดแผ่นดิน
วัดใหญ่ชัยมงคลที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันมีชื่อที่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวข้องอยู่หลายชื่อ ได้แก่ “วัดใหญ่ชัยมงคล” “วัดใหญ่” “วัดป่าแก้ว” และ “วัดเจ้าพระยาไทย” จากที่ได้ตรวจสอบสรุปความได้ว่า ชื่อ “วัดใหญ่ชัยมงคล” ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีที่มาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้คือวัดที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโปรดให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นตามคำแนะนำของสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะในการกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชแห่งพม่า โดยเจดีย์ที่ทรงสร้างขึ้นมีชื่อว่า “เจดีย์ชัยมงคล”
วัดธรรมิกราชจัดว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในเกาะเมือง เพราะตั้งอยู่ติดกับพระราชวัง วัดนี้ไม่มีประวัติการสร้างชัดเจนนักในพระราชพงศาวดาร มีเพียงพงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นตำนาน กล่าวถึงวัดแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ชื่อว่า วัดมุขราช สร้างโดยพระยาธรรมิกราช พระโอรสในเจ้าชายสายน้ำผึ้ง
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ภายในเกาะเมืองอยุธยา ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ในพื้นที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยาที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะแผนผังของวัดสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นวัดกลางเมืองในสมัยอยุธยา
วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญ และเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่
เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ. 2265 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศน์และถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น
วัดกลางบางพระ ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 4 ต.บางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม พื้นที่ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 24 ไร่ 1 งาน 46 ตารางวา