วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เรามุ่งหน้าไปขอนแก่น แต่เราอยากจะไป อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (ปราสาทหินพิมาย) อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ตูนก็เลยถือโอกาสแวะไปเยี่ยมอาจารย์ที่พิมาย หลังจากพูดคุยกันตามประสาศิษย์และอาจารย์แล้ว ก็ไปถึงปราสาทหินพิมายประมาณเที่ยงพอดี แดดเปรี้ยงมาก

บัตรเข้าชม
ค่าเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ผู้ใหญ่คนไทย ราคาคนละ 20 บาท

ศาสนสถานแบบขอม

ชาลาทางเดินและองค์ประธาน

ปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ไม่แน่ใจว่ามีที่จอดรถเฉพาะหรือเปล่า แต่พอดีมีที่ว่างด้านหน้า เราก็เลยได้จอดแถวๆ ร้านค้า

ปราสาทหินพิมายซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย
เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร หรือ กัมพูชา มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ข้อมูลจาก wikipedia)

กำลังถ่ายภาพตูน
เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ.2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี

ปรางค์ประธาน
ตัวอุทยานตั้งอยู่ฟากทิศตะวันออกของแม่น้ำมูล บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่นๆที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงในสมัยนั้นของขอม ซึ่งเข้ามาสู้เมืองพิมายทางทิศใต้

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย

ต้นไม้ใหญ่

อากาศร้อน
เนื่องจากอากาศร้อนมาก แดดตอนเที่ยง และต้องรีบกินข้าว เดินทางต่อไปยังขอนแก่น อาจจะทำให้ใช้เวลาอยู่ที่นี่ได้ไม่นานมาก

สร้างตามแบบแผนของศิลปะเขมร
แต่ก็ประทับใจในความสวยงาม ใครได้มาพิมาย ก็อย่าลืมแวะมานะคะ
The photographs may not be copied, reproduced, redistributed, manipulated, projected, used or altered in any way without the prior express written permission of Juth.Net
1 comment